วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรคตาแดง อาการผิดปกติของตา คัน น้ำตาไหล แก้วตาขาว

โรคตาแดง เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาขาวที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ ชื่อ adenovirus แล้วเกิดการติดเชื้อที่เยื่อตาขาวเรียกว่า Epidemic keratoconjunctivitis (EKC) เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย รวดเร็ว และทำให้เกิดอาการขึ้นอย่างเฉียบพลัน

การติดต่อของโรคพบว่ามีการระบาดเป็นช่วงๆ ส่วนมากจะพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน การติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส การใช้ของร่วมกัน การไอ หรือการหายใจรดกัน และมักเกิดการติดต่อกันในสถานที่ที่เป็นแหล่งชุมชนต่างๆ เช่น สถานศึกษา ที่ทำงาน สระว่ายน้ำ รวมทั้งห้างสรรพสินค้า ที่มีคนจำนวนมากมารวมตัวกัน

อาการของโรค

http://img16.imageshack.us/img16/6144/conjunctivitisviral5263.jpghttp://img10.imageshack.us/img10/8515/conjunctivitis526864252.jpg

แพทย์จะถามถึงยาที่ท่านรับประทาน ยาหยอดตา เลนส์ น้ำยาล้างตา รยะเวลาที่เป็น อาการที่สำคัญคือ

1. คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย คนที่เป็นโรคตาแดงโดยที่ไม่มีอาการคันไม่ใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่นหอบหืด ผื่นแพ้
2. ขี้ตา ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง

- ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้
- ขี้ตาเป็นเมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง
- ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

3.ตาแดงเป็นข้องหนึ่งหรือสองข้าง

- เป็นพร้อมกันสองข้างโดยมากมักจะเกิดจากภูมิแพ้
- เป็นข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยเป็นสองข้างสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อเช่นแบคทีเรีย ไวรัส หรือ Chlamydia
- ผู้ที่มีโรคตาแดงข้างเดียวแบบเรื้อรัง ชนิดนี้ต้องส่งปรึกาแพทย์

4.อาการปวดตาหรือมองแสงจ้าไม่ได้ มักจะเกิดจากโรคชนิดอื่นเช่นต้อหิน ม่านตาอักเสบเป็นต้น ดังนั้นหากมีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้ต้องรีบพบแพทย์
5. ตามัว แม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์
6. ประวัติอื่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา น้ำตาเทียม เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ



การรักษา

เนื่องจากโรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส จึงยังไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะ อีกทั้งยาต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีขณะนี้ ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคตาแดง ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา และป้ายตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา

ในผู้ที่เป็นตาแดงในตาข้างหนึ่ง ส่วนอีกตาข้างหนึ่งไม่มีอาการ ให้หยอดตาเฉพาะตาข้างหนึ่งเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องหยอดตาข้างปกติด้วย เพราะจะเป็นการนำเชื้อจากตาข้างที่เป็นไปยังตาข้างปกติ ถ้ามีอาการเจ็บตาให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล

ถ้ามีอาการเคืองตา แพทย์จะแนะนำให้ใส่แว่นกันแดด ไม่ควรปิดตา และไม่จำเป็นต้องล้างตา นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และพักการใช้สายตา ระยะเวลาการรักษานานประมาณ 2 สัปดาห์

ลักษณะของโรคตาแดงที่ แพทย์ต้องดูแลเป็นพิเศษมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก ถ้าเยื่อตาขาวอักเสบมากเสียจนผิวของเยื่อตาขาวลอกออก บางครั้งเยื่อตาขาวของเปลือกตากับเยื่อตาขาวของลูกตาอาจจะกลาย เป็นแผลเป็นติดกันได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี

เพราะเนื้อมาประกบกันโดยที่ไม่มีหนังอยู่ตรงกลางจึงอาจจะติดกันจนแยกไม่ออกทำให้มีการระคายเคืองเรื้อรังได้

ลักษณะที่สอง ในส่วนของกระจกตาดำ เพราะเชื้อไวรัสบางตัวเมื่อแพร่เชื้อเข้าสู่กระจกตาดำ จะทำให้คนไข้มองอะไรไม่ค่อยชัด สู้แสงไม่ได้ ทำงานลำบาก

ลักษณะสุดท้าย คือ เรื่องของเปลือกตาที่บวมมาก มีน้ำตาไหลออกมาตลอดจนคนไข้กังวลมาก จึงต้องมีการดูอาการเป็นพิเศษ เพื่อรอให้หายไปเอง ด้วยการพูดคุยกับคนไข้ อธิบายให้เข้าใจ เพื่อให้เกิดสบายใจจากนั้นจะให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านเมื่ออาการทุเลาลง

วิธีการป้องกันการติดต่อของโรค เนื่องจากโรคตาแดงยัง ไม่มีวิธีการรักษาโดยตรง วิธีการการป้องกันไม่ให้ติดโรคนี้ ทำได้โดยไม่ใช้สิ่งของปะปนกับผู้อื่น ไม่ใช้มือป้ายตาและขยี้ตาเพราะเชื้อโรคจะติดไปยังสิ่งของที่ผู้ป่วยหยิบจับ ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาด ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกัน

ส่วนผู้ที่กำลังเป็นโรคตาแดง ควรทำการป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายจากตนเองไปสู่ผู้อื่น โดยผู้ที่มีอาการควรหยุดพักเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ไม่ควรอยู่ในที่ชุมชน รวมทั้งใส่แว่นตากันแดด เป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง สำหรับการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยนั้น

อย่ากลัวหรือกังวลในการติดโรคมากจนเกินไป เพราะเชื้อมีระยะเวลาในการแพร่ เพียงแต่ระมัดระวังไม่จับ สัมผัส หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย ก็เพียงพอแล้ว

โรคตาแดง นอกจากจะเกิดจากเชื้อไวรัส อย่างที่กล่าวไปในต้นตอนแล้ว โรคตาแดงยัง อาจพบได้ในโรคตาอื่นๆ อีกหลายโรค และบางโรคเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง คือทำให้มีการสูญเสียสายตาได้ เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาดำอักเสบ ดังนั้นเมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง

แต่ทางที่ดีอย่าได้นิ่งนอนใจ ถึงแม้โรคตาแดงจะ ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้เราสูญเสียเวลาที่ต้องหยุดพักรักษาอาการ ทางที่ดีป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ หรือเมื่อเป็นแล้วก็ควรรีบพบจักษุแพทย์ทันที จะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

ที่มา : siamhealth.net

.

Related Posts by Categories



Widget by Hoctro | Jack Book

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น